วันอังคารที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2551

เกร็ดเล็กน่ารู้

10วิธีกินให้มีสุขยุคอาหารแพง ลดความดันโลหิตสูง หัวใจ อ้วน


นพ.ณรงค์ศักดิ์ อังคะสุวพลา อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยถึงวิธีการกินอย่างมีสุขภาพดีในยุค อาหารแพง ว่า ปัจจุบันการดำเนินชีวิตและการดูแลสุขภาพจำเป็นต้องยึดหลักความเหมาะสมและพอเพียง โดยเฉพาะปัญหาด้านสาธารณสุขที่เกิดจากการกินอาหารในปริมาณมากเกินไป ไม่ถูกหลักโภชนาการ ส่งผลให้เกิดภาวะโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วนลงพุงตามมา ซึ่งเป็นปัญหาที่กรมอนามัยจำเป็นต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะคนที่อ้วนลงพุงเป็นโรคเบาหวานมากกว่าคนไม่อ้วนลงพุง 3 เท่า มีความดันโลหิตสูงและไขมันคอเรสเตอรอล ซึ่งเป็นไขมันตัวร้ายมากกว่า 2 เท่าตัว และคนอ้วนลงพุงจะเสียชีวิตจากโรคหัวใจวายมากกว่าคนทั่วไปถึง 2 เท่าตัว
นพ.ณรงค์ศักดิ์ กล่าวต่อว่า เพื่อลดปัญหาและสร้างสุขภาพดีให้กับตนเอง ประชาชนจึงควรนำหลักพอเพียงมาใช้ในการกินอาหารแต่ละมื้อด้วย โดยกินเพื่อให้ได้สารอาหารและพลังงานที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน หากรู้สึกอิ่มให้ลดหรืองดการกินเพราะความอยาก ความอร่อย กินอาหารเพื่อบำรุงร่างกายให้แข็งแรง ไม่กินแล้วทำร้ายร่างกาย เช่น กินมากไป น้อยไป หรือกินอาหารรสหวาน เค็ม มันมากไป หรือสร้างพฤติกรรมการกินอย่างง่ายภายใต้หลัก 10 วิธีกินในยุคอาหารแพงได้แก่
1) กินพออิ่มในแต่ละมื้อ โดยตักอาหารกะปริมาณพอดี เช่น ตักข้าวสวย 1-2 ทัพพี ผัก 4-6 ช้อนกินข้าว เนื้อสัตว์ 2-3 ช้อนกินข้าว แล้วตามด้วยผลไม้ 1-2 ส่วน ตามด้วยน้ำสะอาด 1-2 แก้ว ก็เพียงพอ
2) ดัดแปลงอาหารที่เหลือเป็นอาหารจานใหม่ เช่น ผัดคะน้า นำมาต้มจับฉ่ายผสมกับผักอื่น ๆ น้ำแกงส้มที่เหลือสามารถเติมถั่วฝักยาวมะละกอ แครอท ผักบุ้ง ส่วนผลไม้ที่เหลือหลายชนิดนำมาทำเป็นสลัดผลไม้ หรือ ปลาทูที่เหลือนำมาตำน้ำพริกปลาทูกินกับผักสด ผักลวกต่าง ๆ ทำให้ได้อาหารจานใหม่ และใช้ประโยชน์จากอาหารได้คุ้มค่าไม่มีอาหารเหลือทิ้ง
3) ทำอาหารปริมาณมากกินได้หลายมื้อ เช่น ต้มไข้พะโล้หนึ่งหม้อกินได้ทั้งวัน อาจเติมหน่อไม้จีนหรือผักอื่น ลงไปด้วยหรือกินร่วมกับผักสด เช่น แตงกวา ผักกาดหอมหรือผักกาดขาวหรือคะน้าลวก
4) หุงข้าวผสมข้าวโพด ถั่ว เผือก มัน ใส่เพื่อเพิ่มวิตามินและยังได้สารอาหารอื่น ๆ เพิ่มด้วย และตอนนี้ข้าวราคาแพงจึงใส่ข้าวโพด ถั่ว เผือก มัน เสริมเข้าไปในข้าว จะทำให้ใช้ข้าวในปริมาณน้อยลงด้วย
5) ปรับเมนูอาหารคุณภาพดีราคาถูก เช่น ไข่พะโล้ เพราะปกติใส่หมูกับไข่เท่านั้น ก็เปลี่ยนจากหมูมาเป็นเต้าหู้แทนก็ได้
6) ลดการกินจุบกินจิบ กินอาหารหลัก 3 มื้อก็เพียงพอแล้ว อาหารว่างเป็นผลไม้หรือนม
7) งดการกินอาหารมื้อดึก เพราะถ้ากินอาหารมื้อดึกเข้าไปแล้วในช่วงเวลานั้นไม่มีการออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวร่างกายใด ๆ มีแต่การนอนทำให้ร่างกายเผาผลาญอาหารที่กินไปน้อยมากและจะสะสมเป็นไขมันแทนทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้
8) เคี้ยวอาหารช้าๆ อย่ารีบร้อน ซึ่งจะทำให้รู้สึกอิ่มเร็วกว่าเพราะร่างกายคนเราจะเริ่มรู้สึกอิ่มเมื่อกินอาหารไปประมาณ 20 นาที
9) ไม่กินทิ้งขว้าง เพราะปัจจุบันอาหารเกือบทุกชนิดมีราคาสูง และ
10) เน้นกินอาหารไทย เช่น ข้าวราดแกง ก๋วยเตี๋ยว ขนมจีน แทนอาหารจานด่วนตะวันตก นอกจากราคาถูกกว่าแล้วยังให้สารอาหารครบถ้วนและสมดุล
” นพ.ณรงค์ศักดิ์ กล่าว อธิบดีกรมอนามัย กล่าวด้วยว่า สิ่งสำคัญสำหรับการกินอาหารให้ได้คุณค่าโภชนาการคือควรกินอาหารในแต่ละมื้อให้ครบ 5 หมู่ คือ อาหารประเภทแป้ง ไขมัน เนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ที่ให้วิตามินและแร่ธาตุ สำหรับประเภทเนื้อสัตว์นั้นจะเน้นให้กินปลา เนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน ไข่ ถั่วประเภทต่าง ๆ และเมล็ดธัญพืชเป็นประจำ
นอกจากอาหารหลัก 5 หมู่แล้ว ควรได้รับอาหารประเภทเมนูชูสุขภาพใน 4 กลุ่ม คือ กลุ่มอาหารที่ให้ใยอาหารสูงเพื่อช่วยให้การขับถ่ายสะดวกขึ้น อาหารที่อยู่ในกลุ่มวิตามินเอและธาตุเหล็กสูง เพื่อช่วยเพิ่มความต้านทานโรคทำให้ร่างกายแข็งแรงและช่วยการเจริญเติบโตของเด็ก อาหารในกลุ่มแคลเซียมเพื่อป้องกัน โรคกระดูกเปราะบาง และกลุ่มอาหารที่มีไขมันต่ำ ประชาชนผู้บริโภคจีงควรตระหนักและรู้จักเลือกกินอาหารที่เหมาะสมในยุคเศรษฐกิจ

ประวัติโดยย่ออำเภอบางบ่อ

ประวัติโดยย่อของอำภอบางบ่อ
อำเภอบางบ่อ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ (คำว่าบางบ่อ มาจากคำว่า บาง และคำว่า บ่อ คำว่า บาง หมายถึง ทางน้ำเล็กๆ ที่ไหลขึ้นลง ตามระดับน้ำ ในแม่น้ำลำคลองหรือทะเล คำว่า บ่อ หมายถึง ช่องลึกลงไปในดินใช้เป็นที่ขังน้ำขังปลา เมื่อรวมกันแล้วคำว่าบางบ่อ น่าจะหมายถึง ท้องที่ที่มีทางน้ำเล็ก ๆ อยู่ใกล้ทะเล และมีการกักเก็บน้ำไว้ใช้หรือขุดบ่อล่อปลาให้เข้าไปอยูเวลาน้ำขึ้น และเปิดน้ำออก เพื่อจับปลาเวลาน้ำลง (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานพ.ศ. 2525)
เมื่อต้น พ.ศ. 2350 ท่านสุนทรภู่ ได้เดินทางผ่านมาตามลำคลองสำโรงเพื่อเดินทางไปหาบิดาที่บ้านกล่ำจังหวัดระยอง ได้แต่งเป็นนิราศ เมืองแกลง บรรยายถึงท้องถิ่นที่ผ่านมาตามทาง ถึงบางบ่อ ดังนี้

ถึงบางบ่อพอจันทร์กระจ่างแจ้ง
ทุกประเทศเขตแขวงนั้นกว้างขวาง
ดูดาวดาษกลาดฟ้านภาภางค์
วิเวกทางท้องทุ่งสะท้านใจ
ดูริ้ว ริ้ว ลมปลิวที่ปลายแฝก
ทุกละแวกหวาดหวั่นอยู่ไหวไหว
รำลึกถึงขนิษฐายิ่งอาลัย
เช่นนี้ได้เจ้ามาด้วยจะดิ้นโดย
เห็นทิวทุ่งวุ้งเวิ้งให้หวั่นหวาด
กัมปนาทเสียงนกวิหกโหย
ไหนจะต้องละอองน้ำค่างโปรย
เมื่อลมโชยชื่นนวลจะชวนเชย
โอ้นึกนึกแล้วก็น่าน้ำตาตก
ด้วยแนบออกมิได้แนบแอบเขนย
ได้หมอกข้างต่างน้องประคองเชย
เมื่อไรเลยจะได้คืนมาชื่นใจ ฯ
จากคำประพันธ์ สันนิษฐานว่า ในสมัยนั้นบางบ่อ เป็นทุ่งกว้าง มีคนเข้ามาตั้งถิ่นฐานทำมาหากิน ปลูกบ้านหลังคามุงแฝก (เข้าใจว่าน่าจะเป็นใบจาก) อยู่ตามริมคลอง โดดเดี่ยวห่างไกลกัน เมื่อคนเคยอยู่ในเมือง มาพบสภาพเช่นนี้ทำให้เกิดความวิเวก วังเวง น่ากลัวชาวตำบลบางบ่อ แต่เดิมประกอบอาชีพทำนา มากบ้างน้อยบ้างตามฐานะ เนื่องจากมีพื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม และอุดมสมบูรณ์ ต่อมาการทำนาไม่ค่อยได้ผล เนื่องจากมีวัชพืช แมลง ศัตรูพืชระบาด และพื้นดินเสื่อมสภาพ จึงหันมาประกอบอาชีพเลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้งปัจจุบัน พ.ศ. 2548 การเลี้ยงกุ้งไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากมีความเสี่ยงสูง จึงยังมีคนเลี้ยงปลากันอยู่บ้าง ประกอบกับมีการกว้านซื้อที่ดิน เพื่อใช้ประโยชน์อื่นรองรับการขยายตัวของเมือง เช่น บ้านจัดสรร โรงงานอุตสาหกรรม สนามกอล์ฟ โกดังสินค้า จึงทำให้มีการเปลี่ยนมือการถือครองที่ดินไปจากคนในตำบล คาดว่าเมื่อสนามบินสุวรรณภูมิเปิดใช้ คงจะมีการพัฒนา การใช้ประโยชน์จากที่ดินเหล่านั้นต่อไป
ชาวอำเภอบางบ่อเป็นผู้ที่มีอัธยาศัยดี ขยันขันแข็งในการประกอบอาชีพ โดยเฉพาะมีวิธีการทำนาที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ให้ผลผลิตดี มีคุณภาพ สืบทอดมาหลายชั่วอายุคน ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณี และเสื่อมใสในศาสนา เหมือนชาวชนบท ชาวนาภาคกลางทั่วไป การเปลี่ยนแปลงของสังคมและเทคโนโลยี มีผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเจตคติ ค่านิยม และการประกอบอาชีพไปมากจากสังคมเกษตร เป็นสังคมอุตสาหกรรม ประกอบกับมีผู้คนจากต่างถิ่นอพยพเข้ามา เพื่อหางานทำเป็นจำนวนมาก จะเห็นได้จากในอำเภอบางบ่อมีบ้านเช่ามากมาย กระจายอยู่ทั่วไป ค่าเช่าถูกแพงตามสภาพอาคารและทำเลที่ตั้ง และยังมีความต้องการต่อไปอีกจำนวนมาก เหตุนี้เองจึงทำให้เกิดการผสมผสานวัฒนธรรมประเพณี และชีวิตความเป็นอยู่ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมบ้าง
อย่างไรก็ตามชาว อำเภอบางบ่อยังคงรักถิ่นที่อยู่ ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของสังคมดั้งเดิม ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงต่อไปอย่างไม่หยุดยั้งลักษณะภูมิศาสตร์ ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ
พื้นที่ของตำบลบางบ่อ เป็นที่ราบลุ่ม น้ำท่วมขังทุกปี เหมาะแก่การทำนาข้าว เลี้ยงสัตว์น้ำและทำการประมงน้ำจืด อากาศดีเพราะอยู่ใกล้ทะเลอ่าวไทย และมีการลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พัดผ่านเกือบตลอดปี

กิจกรรมภายในโรงเรียน

กิจกรรมวันแม่แห่งชาติ





กิจกรรมวันแม่แห่งชาติได้จัดขึ้นในวันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๕๑ นำโดยผอ.ชาญสินธุ์ กิจแสงทอง และคณะครูอาจารย์โรงเรียนบางบ่อ วิทยาคมและนักเรียนทุกคน จัดขึ้นเพื่อแสดงถึงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ และจัดนิทรรศการผลงานนักเรียนระดับม.ปลาย ณ ลานเอนกประสงค์โรงเรียนบางบ่อวิทยาคม


กิจกรรมวันสุนทรภู่



กิจกรรมวันสุนทรภู่หมวดภาษาไทยได้จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงสุนทรภู่โดยมีการแสดงลิเก ตอนพระอภัยมณีหนีนางผีเสื้อสมุทรโดยคณะลิเกโรงเรียนบางบ่อวิทยาคม ณ ลานเอนกประสงค์ วันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๕๕๑

กิจกรรมวันไหว้ครู



กิจกรรมวันไหว้ครูโรงเรียนบางบ่อวิทยาคม จัดขึ้นเพื่อแสดงความ เคราพต่อคณะครูอาจารย์ จัดขึ้น ณ ลานอเอนกประสงค์ ระหว่างวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๕๑

ภาพรวมภายในโรงเรียน





















































ประวัติโดยย่อ


โรงเรียนบางบ่อวิทยาคม ได้รับอนุมัติจากกรมสามัญศึกษา ให้ทำการเปิดสอนในระดับ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2512มีชื่อเดิมว่า ''โรงเรียนมัธยมบางบ่อ” เป็นโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาประจำอำเภอบางบ่อโดยมีพระครูวิจารณ์ธรรมคุณ เจ้าอาวาสวัดบางบ่อและเจ้าคณะอำเภอพร้อมด้วยคณะกรรมการวัดได้ตกลงให้ที่ดินธรณีสงฆ์ของวัด จำนวน 30 ไร่ 2 งาน 59 ตารางวา ต่อมาโรงเรียนเปิดสอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ทางวัดจึงมอบให้อีก 5 เป็นที่สำหรับปลูกสร้างอาคารเรียน เมื่อแรกเปิดเรียนในปี การศึกษา 2512 โรงเรียนยังไม่มีอาคารเรียน ได้อาศัยโรงเรียนวัดบางบ่อเป็นสถานที่เรียน จำนวน 2 ห้องเรียน มีนักเรียน 82 คน มีครู เฉลิมศรี ไชยวงศ์ เป็นครูคนแรกของโรงเรียน ต่อมานายอำเภอบางบ่อคือ นายชัด รัตนราช ซึ่งเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการก่อสร้างโรงเรียน ได้อนุญาตให้ครูองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ มาช่วยสอนอีกคน จนตลอดปีการศึกษา และเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2512 กรมสามัญศึกษาจึงมีคำสั่งย้ายและแต่งตั้ง นายเสถียร คำเนตร ครูโท โรงเรียนพระโขนงวิทยาลัยกรุงเทพฯ มาดำรงตำแหน่งครูใหญ่ ที่โรงเรียนบางบ่อวิทยาคมและในปีการศึกษา2518โรงเรียนได้รับการคัดเลือกจากกรมสามัญศึกษาให้เข้าอยู่ในโครงการพัฒนาโรงเรียน มัธยมในส่วนภูมิภาคกลุ่ม 1 รุ่นที่ 2 (คมก.1 รุ่น 2)และเพื่อให้โรงเรียนนี้เป็นศิริมงคลยิ่งขึ้นทางโรงเรียนจึงขออนุญาตเปลี่ยนชื่อโรงเรียน จากเดิมเป็น “โรงเรียนบางบ่อวิทยาคม” ตั้งแต่วันที่ 4 เมษายน 2512จนกระทั่งปัจจุบัน

ข้อมูลโรงเรียนบางบ่อวิทยาคม

ชื่อโรงเรียน โรงเรียนบางบ่อวิทยาคม อักษรย่อ บ.บ.ว
สถานที่ตั้ง 23 หมู่ 3 ถนน บางนา-ตราด อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ 10560 โทรศัพท์ 0-2708-6118-9 , 0-2338-1777
ประเภทโรงเรียน กองการมัธยมศึกษา กรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
พิ้นที่ รวมเนื้อที่ 35 ไร่ 2 งาน 59 ตารางวา
การก่อตั้ง วันที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2512
วันสถาปนาโรงเรียน วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2512
ระดับการสอนชั้นมัธยมศึกษา
ปรัชญาโรงเรียน เขียว-สะอาด
คำขวัญโรงเรียน สามัคคี มีวินัย ตั้งใจศึกษา
สีประจำโรงเรียน แสด-ดำ
ความหมายของสี แสด หมายถึง การเริ่มต้น
ความหมายของสี ดำ หมายถึง ความมั่นคง แข็งแรง
แสด - ดำ หมายถึงการเริ่มต้นที่มั่นคง
ตราประจำโรงเรียน ฟันเฟืองล้อมรอบหนังสือและปากกา
ความหมายของตรา หมายถึง ความรู้ที่ประกอบไปด้วยวิชาสามัญและวิชาชีพ
พระพุทธรูปประจำโรงเรียน หลวงพ่อรัตนสิทธิชัย
ต้นไม้ประจำโรงเรียน ต้นพิกุล
ครูใหญ่คนแรก นายเสถียร คำเนตร
ครูคนแรก ครูเฉลิมศรี ไชยวงศ์
ผู้ก่อตั้ง พระครูวิจารณ์ธรรมคุณ เจ้าอาวาสวัดบางบ่อ นายอำเภอบางบ่อ นายวัฒนา จริยานายอำเภอบางบ่อ นายชัด รัตนราชศึกษาธิการอำเภอ นายสิทธุ์ เที่ยงทางธรรม ศึกษาธิการอำเภอ นายบรรยง ไพโรจน์สรคุปต์ ศึกษาธิการอำเภอ
นายบุญธรรม กรรณ

แนะนำนักศึกษาฝึกสอน

รายชื่อนักศึกษาฝึกสอน
โรงเรียนบางบ่อวิทยาคม อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ 10560



1.นางสาวสาลินี กองสุวรรณ
รหัสประจำตัว48003120017
โปรแกรมคณิตศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์

2.นางสาวแสงดาว ฉวนศรี
รหัสประจำตัว48003120024
โปรแกรมคณิตศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์